HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
โครงการ การศึกษาพฤติกรรมของดินถล่มในจังหวัดภูเก็ต
สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
 
ชื่อหัวหน้าโครงการและคณะทำงาน
  รศ.ดร.วรากร ไม้เรียง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  ผศ.ดร.ก่อโชค จันทวรางกูร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  ดร.ธนาดล คงสมบูรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ องค์รักษ์
  ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
บทนำ
    โครงการวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมของดินถล่มในจังหวัดภูเก็ต” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยพฤติกรรมทางวิศวกรรมของดินถล่มที่เกิดจากฝนตกหนัก ซึ่งจะทำการศึกษาในพื้นที่บริเวณไหล่เขาทางด้านตะวันตกของเกาะภูเก็ต ช่วงระหว่างหาดป่าตองและหาดกมลา จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินถล่มขึ้นในอดีต โดยจะเป็นการดำเนินงานในส่วนของการสำรวจ แลทดสอบคุณสมบัติของดินทั้งในสนามและในห้องปฏิบัติการ หาความสัมพันธ์ของคุณสมบัติของดินกับความชื้นในมวลดินที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งตรวจวัดพฤติกรรมของดินที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ที่เคยเกิดดินถล่มด้วย
 
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. ศึกษากำลังของดินที่เปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นในมวลดิน ที่มีผลต่อการเกิดแผ่นดินถล่มในพื้นที่บริเวณไหล่เขาทางด้านตะวันตกของเกาะภูเก็ต ช่วงระหว่างหาดป่าตองและหาดกมลา จังหวัดภูเก็ต
2. ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของดินในพื้นที่เป้าหมายที่เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตก
 
ขอบเขตงานวิจัย
1. งานวิจัยในครั้งนี้จะดำเนินการเฉพาะในส่วนของการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกิด แผ่นดินถล่มในพื้นที่ ซึ่งรวมไปถึงการสำรวจ การตรวจวัด และทดสอบคุณสมบัติของดินที่แปรผันไปตามความชื้นในมวลดินเท่านั้น
2. การตรวจวัดพฤติกรรมของมวลดินจะดำเนินการเฉพาะการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงความชื้นในมวลดิน ความเครียดเมตริก (Matric Suction) และปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ศึกษา
 
แนวทางการวิจัย
1. จัดหาแผนที่ภูมิประเทศในพื้นที่เป้าหมาย
2. สำรวจลักษณะภูมิประเทศ
3. เก็บข้อมูลการเกิดแผ่นดินถล่มในพื้นที่
4. ทดสอบและเก็บตัวอย่างดินในสนาม
5. ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมของดินที่ความลึกต่าง ๆ และ เครื่องมือวัดปริมาณฝนซึ่งจะทำการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อใช้เป็นข้อมูลในงานวิจัยพฤติกรรมทางวิศวกรรมของดินถล่มที่เกิดจากฝนตกหนัก
6. ทดสอบคุณสมบัติของดินตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ
7. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังของดินกับการเปลี่ยนแปลงความชื้นในมวลดิน
8. รายงานผลการวิจัย
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   1. ฐานข้อมูลคุณสมบัติของดินที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงความชื้นในมวลดิน ในพื้นที่เป้าหมาย
   2. ลักษณะของพื้นที่ และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงความชื้นในมวลดินอันเนื่องมาจากฝนตก
 
หมายเหตุ : โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ โปรดอย่านำข้อมูลไปใช้อ้างอิง
 
ผลการศึกษา
การสำรวจภาคสนามครั้งที่ 1 วันที่ 12-17 สิงหาคม 2546
การสำรวจภาคสนามครั้งที่ 2วันที่ 20-24 ตุลาคม 2546
 
บทความสำหรับการเผยแพร่ (.pdf)
 
<---ดูภาพขยาย
แผนที่ จ.ภูเก็ต ตำแหน่งของแผ่นดินถล่มในพื้นที่เป้าหมาย